การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน ( Preventive Maintenance)

คือ การดำเนินกิจกรรมซ่อมบำรุงตามกำหนดเวลาก่อนที่หม้อแปลงไฟฟ้าจะเกิดชำรุดเสียหาย ป้องกันการหยุดของเครื่อง จักรโดยฉุกเฉิน สามารถทำได้ด้วยการตรวจสภาพหม้อแปลงไฟฟ้า การทำความสะอาด การทดสอบค่าฉนวนต่าง ๆ

การบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า ต้องดำเนินการอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง เพื่อสำรวจสภาพหม้อแปลงไฟฟ้า รวมถึงการตรวจสอบและทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันความเสียหาย เพราะหม้อแปลงไฟฟ้าชำรุดอาจทำให้สายการผลิตต้องหยุด ดังนั้น การบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าอย่างถูกต้องมีมาตรฐานต้องกระทำโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเท่านั้น

หัวข้อรายการตรวจเช็ค

1. ตัวถังหม้อแปลงไฟฟ้า (Main Tank)

1.1  ตรวจรอยรั่วซึมของน้ำมัน,คราบน้ำมัน

1.2  ตรวจคราบสกปรก,ฝุ่นและขยะที่เกาะติด

1.3  ตรวจดูว่าเกิดสนิมหรือการกัดกร่อนของตัวถัง

 

2. การรั่วซึมรอบนอกของหม้อแปลงไฟฟ้า

2.1   ตรวจดูปะเก็น/ซีลยางต่างๆ

2.2   ตรวจดูวาล์วถ่ายน้ำมัน(Drain Valve)

 

 

 

 

 

 

 

3. ชุดกรองความชื้น(Dehydrating Breather)

3.1 ตรวจสอบการเปลี่ยนสีของซิลิก้าเกล  (Silica gel)  จาก สีน้ำเงินเข้มเป็นสีชมพูไป 3/4 ของกระบอกกรองความชื้น (ควรแก้ไข)

3.2 ตรวจสอบระดับน้ำมันในถ้วยใต้กระบอกกรองความชื้นว่ามีอยู่ในระดับที่มาตรฐาน

3.3 ตรวจสอบซีลยางและน๊อตสกูรต้องไม่มีคราบน้ำมันซึมและซีลยางไม่แตกระแหง มีผิวเรียบ

3.4 ต้องดึงแผ่นอลูมิเนียมออกก่อนติดตั้งและจ่ายไฟ

 

4.     การตรวจวัดค่า (Insulation Resistance)  2000 MW – 5000 MW  (20 C)

1.          H. V. – L.V.           ต้องไม่ต่ำกว่า   1000 MW

2.          H.V. – Ground       ต้องไม่ต่ำกว่า   1000 MW

3.          L.V.  – Ground   ต้องไม่ต่ำกว่า   1000 MW

 

5.  บุชชิ่งแรงสูง – แรงต่ำ (Bushing)

5.1   ตรวจสภาพผิว(คราบน้ำมัน,รอยอาคท์(Arc),ครีบบิ่นแตก

5.2   ตรวจความสะอาดของบุชชิ่ง

5.3   ตรวจดูรอยรั่วซึมของคราบน้ำมัน ,สภาพซีลยาง (Seal)

5.4   ตรวจ Bolt & Nut ของบุชชิ่งแรงสูง-แรงต่ำ

 

6.  ขั้วต่อสายไฟเข้า – ออก ด้านแรงสูงและแรงต่ำ (Terminal Connector H.V.,L.V.)

6.1  ขั้วต่อสายไฟเข้า – ออก ด้านแรงสูงและแรงต่ำ (Terminal Connector H.V.,L.V.)

6.2  ตรวจ ดูรอยอาคท์ (Arc) หรือ Overheat

6.3  ตรวจ Bolt & Nut ของ Terminal Connector ให้แน่น

6.4  ตรวจสอบความสะอาดและทา Compound เพื่อช่วยเคลือบคลุมรอยสัมผัสไว้ เป็นการกันความชื้นและอ๊อกซิเจนในอากาศ

       

7.  ชุดปรับแรงดันไฟฟ้า ( Off  Load Tap Changer)

7.1  ตรวจสภาพของ Handle และ Tap Changer ตรงล็อกหรือไม่

7.2  ตรวจสอบรอยรั่วซึมของน้ำมันและซีลยาง (Seal)

7.3  ตรวจสอบการอาร์ค (Arc) หรือเชื่อมติดของ Tap Changer  โดยการหมุนไป – มา 4-5 ครั้ง

8.  ที่วัดระดับน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า (ถ้ามี)

8.1  สังเกตการขยับตัวของเข็มวัดระดับ(ถ้ามี)

8.2  ตรวจดูระดับน้ำมันอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (20°C )  หรือไม่

8.3  ตรวจขัน น๊อต สกูรให้แน่น

8.4  ตรวจสอบรอยรั่วซึมน้ำมันและซีลยาง (Seal)

8.5  ตรวจสอบ กระจก/พลาสติก ว่าแตกชำรุด หรือไม่

9.   เทอร์โมมิเตอร์ (ถ้ามี)

9.1  เทอร์โมมิเตอร์ (ถ้ามี)

9.2  ตรวจสอบกระจก/พลาสติกหน้าปัดแตกชำรุดหรือไม่

9.3  ตรวจสอบรอยรั่วซึมคราบน้ำมัน

9.4  ตรวจสอบค่าที่วัดอุณหภูมิ Top oil เกินค่าที่กำหนดหรือไม่  (ไม่เกิน 60°C)

9.5  ตรวจสอบการทำงานของอุณหภูมิถูกต้องหรือไม่

10.   อุปกรณ์ความดัน (Pressure Relief  Device) (ถ้ามี)

10.1  ตรวจสอบรอยรั่วซึมคราบน้ำมัน

10.2 ความดันตั้ง (0.5 bar)

10.3 ระดับน้ำมันในท่อเติมเต็ม

        

11.  บุชโฮลซ์รีเลย์ (Buchholz Relay) (ถ้ามี)

11.1  ตรวจสอบกระจก/หน้าปัดแตกชำรุด  หรือไม่

11.2  ตรวจสอบมี Gas สะสมมากผิดปกติหรือไม่

11.3  ทดสอบการทำงาน

12.  น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า

12.1  ทดสอบค่า Breakdown Voltage  ตามมาตรฐาน ASTM หรือ IEC

12.2  ตรวจสอบสีของน้ำมัน

12.3  ตรวจสอบค่าความเป็นกรด,ความหนืด

12.4  ตรวจสอบสิ่งเจือปนในน้ำมัน

ข้อแนะนำสำหรับการบำรุงรักษาหม้อแปลง

  1.   ควรตรวจสอบหม้อแปลงโดยตลอดทันทีที่มีการตรวจรับหม้อแปลงจากบริษัท
  2. ม่ควรป้อนพลังงานไฟฟ้า (energized) แก่หม้อแปลง จนกว่าจะเติมน้ำมันถึงระดับที่กำหนดไว้แล้วเท่านั้น
  3. หลีกเลี่ยงการกระแทกหรือสั่นสะเทือนที่อาจจะเป็นอันตรายต่อโครงสร้างภายในระหว่างการโยกย้ายหรือขนส่ง
  4. ตรวจสอบบุชชิ่งและส่วนประกอบอื่นๆ ให้ติดแน่นก่อนที่จะนำไปใช้งาน
  5. การเติมน้ำมันหม้อแปลง พึงระมัดระวังมิให้มีความชื้นหรือสารอื่นใดเจือปนลงไปในหม้อแปลงได้
  6. ไม่ควรหิ้วยกหม้อแปลงที่บุชชิ่งหรืออุปกรณ์ที่ติดแน่นอยู่บนตัวหม้อแปลง ควรยกที่หูหิ้วของหม้อแปลงเท่านั้น
  7. ถ้าเป็นหม้อแปลงที่ใช้ในระบบจำหน่ายที่ติดตั้งอยู่กับเสาไฟฟ้า ควรยึดหม้อแปลงให้แน่นและอยู่ในแนวดิ่ง
  8. เมื่อทำการบำรุงรักษาชนิดป้องกัน (PM) ให้ทำการตรวจสอบที่บุชชิ่งทั้งหมด, ข้อต่อ,  ปะเก็น,  อุปกรณ์ส่งสัญญาณป้องกัน,  สีที่ทาตัวถังและส่วนประกอบภายนอกทั้งหมดในเรื่องสนิม รอยกัดกร่อน หรือ มีรอยรั่วซึมตรวจเช็คระดับน้ำมันและทดสอบสภาพความเป็นฉนวนของน้ำมัน (การทดสอบความเป็นฉนวนของน้ำมันนี้ควรกระทำทุก 3-6 เดือนสำหรับหม้อแปลงขนาดใหญ่)  แต่ถ้าเป็นหม้อแปลงขนาดเล็กให้กระทำทุกปี  และเมื่อพบว่าน้ำมันมีค่าต่างไปจากมาตรฐานกำหนดให้ทำการกรองความบริสุทธิ์น้ำมันทันที
  9. ทุกครั้งที่มีการเปิดตัวถังออกเพื่อตรวจสอบ เมื่อปิดฝาถังจะต้องปิดให้แน่นและตรวจเช็คความสมบูรณ์ของปะเก็นด้วย
  10. ถ้าหม้อแปลงหลายตัวต่อขนานกันไว้เพื่อช่วยกันจ่ายโหลด เวลาทำงานกับหม้อแปลงตัวใดตัวหนึ่งจะต้องคำนึงถึงอันตรายที่เกิดจากแรงดันไฟฟ้าที่ย้อนกลับด้วย  จึงควรปลดตัวที่กำลังตรวจซ่อมอยู่นั้นออกทั้งทางด้านแรงสูงและแรงต่ำการตรวจสอบและบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า เป็นระบบการทำงานที่มีความสำคัญยิ่ง ช่างที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและความชำนาญเป็นการเฉพาะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของวิศวกร  มีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างและส่วนประกอบทั้งภายในและภายนอกของ หม้อแปลงรายละเอียดบนแผ่นป้ายของหม้อแปลง รวมทั้งชนิดของการตรวจสอบ และบำรุงรักษาของ  หม้อแปลงทั้งแบบประจำวันและตามกำหนดเวลา  ตลอดจนมีความสามารถในการใช้งานเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า  เช่น  เมกเกอร์  วีตสโตนบริดจ์  เรโชมิเตอร์ และเครื่องมือวัดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ดี